ปี 2500 กว่ากึ่งศตวรรษแห่งความแข็งแกร่ง
ก่อตั้งขึ้นด้วยความคิดริเริ่มของ ฯพณฯ พลเอก
สฤษดิ์ ธนะรัตน์ และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2488 ธนาคารเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี
2500 ณ สำนักงานใหญ่ ถนนราชดำเนิน โดยมีประเภทบริการที่จำกัดและมุ่งให้บริการทางการเงินแก่หน่วยงานทหารและข้าราชการทหารเป็นหลัก
หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาและเติบโตขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งในปี 2506
ธนาคารจึงได้เปิดสาขาแห่งแรกคือ สาขาราชประสงค์
ปี 2507 – 2516
ธนาคารได้ขยายขอบเขตการให้บริการทางการเงินสู่ภาคธุรกิจและเอกชนเพิ่มขึ้นเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของทางการ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจประเภศ และในปี 2516
ธนาคารจึงได้ดำเนินธุรกิจด้วยฐานะธนาคารพาณิชย์ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นด้วยการขยายฐานการให้บริการสู่ลูกค้าประชาชนโดยทั่วไป
และใช้คำขวัญว่า "ธนาคารทหารไทย รับใช้ประชาชน"
ปี 2521 สู่ความเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ยิ่งสมบูรณ์พร้อม
ในปี 2521 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคาร 2
ถนนราชดำเนิน มาสู่อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่บริเวณมุมถนนพญาไทตัดกับถนนศรีอยุธยา
และปี 2525
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตราตั้งให้ธนาคารทหารไทย
จำกัด เป็นธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นครั้งแรกจาก 10 ล้านบาทเป็น 100 ล้านบาท
ธนาคารได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการพัฒนาระบบงาน
ซึ่งสามารถให้บริการรับฝากถอนเงินต่างสาขาระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขาในกรุงเทพฯ
ได้เป็นครั้แรกในปี 2526 และพัฒนาระบบเงินฝากให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบในปี
2528
ปี 2530
ธนาคารได้ขยายฐานการให้บริการทางการเงินออกไปสู่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก
โดยจัดตั้งบริษัทเงินทุนทีเอ็มบี (ฮ่องกง) จำกัด
และต่อมายกฐานะขึ้นเป็นสำนักงานผู้แทนฮ่องกง
ปี 2536
ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพหลโยธิน
ที่พร้อมมูลด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
สามารถให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและครบถ้วน ต่อมาในปี 2537
ธนาคารได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติ บริษัท มหาชน
จำกัด พ.ศ. 2535
ปี 2536 – 2538 ธนาคารคุณภาพเพื่อคนไทย
เป็นระยะเวลาที่ธนาคารได้ดำเนินนโยบาย "มุ่งสู่ธนาคารคุณภาพ"
ในระยะที่ 1 อันเป็นการเตรียมความพร้อม
โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของธนาคาร
โดยใช้กิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ Total Quality Service (TQS) และได้พัฒนาคุณภาพในด้านต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบงานสาขาแบบ Quality Branch พัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลภายในสำนักงานใหญ่และสาขาย่อยเป็นการส่งผ่านระบบ
E-mail และ Intranet พัฒนาระบบหักบัญชีอิเล็กทรนิกส์ระหว่างธนาคารพัฒนาบริการทางเงินของธนาคารให้ได้มาตราฐาน
ISO 9000 รวมทั้งจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทหารไทย จำกัด
โดยได้รับอนุญาติให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 และปี 2540
จึงได้ขยายการดำเนินการสู่ระยะที่ 2 ใน 3 ระดับ คือ ระดับองค์กรระดับปฏิบัติการ
และระดับพนักงาน
ปี 2541
ธนาคารได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9002
จากสถาบัน UKAS และจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีนโยบายให้บริษัทจดทะเบียนมีการจัดองค์กรที่ดี
(Corporate Good Govermance) ธนาคารจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้น
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของผู้บริหารเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ฝากเงินและลูกค้า
และจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ธนาคารได้ปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม
เพื่อรองรับกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตและกฎระเบียบที่เข้มงวด
โดยจัดตั้งฝ่ายพัฒนาธุรกิจสินเชื่อและฝ่ายสอบทานสินเชื่อ
เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งบริษัท จัดการอสังหาริมทรัพย์ทหารไทย จำกัด
ปี 2544
ธนาคารมีการปรับโครงสร้างองค์กรโดยการจัดตั้งหน่วยงานสายการตลาด
เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายบริการของธนาคาร
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานด้านการบริหารความเสี่ยงในด้านสินเชื่อ
และสำนักงานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการทางด้านเทคโนโลยีธนาคารได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระบบการให้บริการลูกค้า (Core
Banking) การพัฒนาระบบ Credit Scoring ระบบ Trade Finance ระบบ Treasury
รวมทั้งระบบงาน
Retail Banking
ปี 2545
ธนาคารได้พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ
ในการปฎิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และนำระบบงาน Core Banking มาทดลองใช้ใน
10 สาขา รวมทั้งปรับปรุงเครือข่ายสาขาให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจ
และส่งเสริมการแข่งขัน โดยเปิดสาขาย่อยขนาดเล็กในรูปแบบ KIOSK และขยายเวลาการบริการให้สอดคล้องกับพื้นที่
และได้ปรับโครงสร้างทางด้านบุคลากรให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรใหม่
ปี 2547 พลังแห่งความเป็นปึกแผ่น
ธนาคารได้รวมกิจการกับธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ
และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ซึ่งการรวมกิจการดังกล่าวส่งผลให้เป็นธนาคารใหม่ที่สมบูรณ์แบบ ตั้งแต่วันที่ 1
กันยายน 2547 โดยมีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 7 แสนล้านบาท เป็นอันดับ 5
ของระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งการมีบริษัทประกันฯ
และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในเครือ
ทำให้ธนาคารสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจร หรือ Universal Banking ได้เป็นอย่างดี
ปี 2548
ธนาคารได้ทำการ "Re-branding" โดยได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของธนาคารเป็น
"TMB Bank Public Company Limited."
เปลี่ยนโลโก้เป็นและเปลี่ยนคำขวัญเป็น
"ร่วมคิด เพื่อทุกก้าวของชีวิต" - "Better Partner, Better
Value" เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการครบวงจร (Universal
Bank)
ปี 2550
ธนาคารได้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน
25,000 ล้านหุ้นแก่ ING Bank N.V. ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
1 ใน 20 ของสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ 1 ใน 10
อันดับแรกของสถาบันการเงินที่ใหญ่ในยุโรป รวมทั้งกระทรวงการคลังและกลุ่มบุคคลเฉพาะเจาะจงในประเทศ
โดยหุ้นสามัญที่เหลือจากการจัดสรรเสนอขายแก่สถาบันการเงินและกองทุนในต่างประเทศ
ธนาคารประสบความสำเร็จในการขายหุ้นเพิ่มทุนเป็นอย่างดียิ่ง
โดยมีมูลค่าการขายหุ้นเพิ่มทุนที่เพิ่มในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 37,622 ล้านบาท
ทำให้ธนาคารมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
ระดับความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 14.4% ณ สิ้นปี 2550
ปี 2551 – ปีปัจจุบัน ธนาคารชั้นนำของไทยมาตรฐานระดับโลก
ธนาคารได้ปรับองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
(Customer Centric Organization) ด้วยการบริหารจัดการที่มุ่งตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
ทั้งยังได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงให้เทียบเท่าระดับมาตรฐานสากลควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพ
รวมถึงเพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้และทำกำไร
ที่มา : เว็บไซด์ของธนาคารทหารไทย www.tmbbank.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น