วิเคราะห์ข่าว


ทีเอ็มบี ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ SME 3 เท่า พลัส ช่วยเสริมสภาพคล่อง SME
ทีเอ็มบีตอบโจทย์ลูกค้า ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ 3 เท่าใหม่เป็นทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่า พลัส ตอบทุกโจทย์จบในครั้งเดียว ด้วยวงเงินสูงสุด 3 เท่า ให้วงเงินหมุนเวียนเผื่ออนาคตอีก 50% ทันที และให้วงเงินสำรองสินค้าอีก 30 วัน รับเงินไวใน 15 วันทำการ ตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าใหม่ในวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท 
นายไตรรงค์  บุตรากาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี  เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่มีการชลอตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันได้เริ่มมีสัญญาณในทางบวกให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบ้างแล้ว จากปัจจัยหลักต่างๆ  ทั้งราคาน้ำมันที่ลดลง การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวและการอ่อนค่าของเงินบาทที่ส่งผลให้ภาคการส่งออกมีสัญญาณดีขึ้น นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนประจำปีของภาครัฐที่เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นก็สามารถช่วยให้เริ่มมีเงินหมุนกลับเข้าสู่ระบบอีกครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักของผู้ประกอบการ SME ในสภาวะเศรฐกิจและสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังเป็นความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือบางครั้งได้รับมาแต่ไม่เพียงพอ  และอาจไม่ทันเวลาที่ต้องการ  บางรายได้รับเงินทุนเฉพาะในช่วงแรกของการเป็นลูกค้าเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อมีการขยายธุรกิจกลับไม่ได้วงเงินตามที่ขอเพิ่ม หรือได้ไม่ทันกำหนดการ  รวมถึงธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อไม่มีการติดตามลูกค้าอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด  ทำให้ผู้ประกอบการเกิดภาวะสะดุด  ไม่สามารถทำธุรกิจได้อย่างราบรื่นทันเวลา  จากปัจจัยดังกล่าว ทีเอ็มบีจึงมุ่งมั่นและพร้อมที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ที่ยังคงมีศักยภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ที่ทีเอ็มบีได้ ทำการพัฒนาขึ้น
ผลิตภัณฑ์ สินเชื่อทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่า พลัส  เป็นคำตอบของแนวคิดข้างต้น  มุ่งตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี  โดยสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ คือ ได้รับวงเงินสูงสุดถึง 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ให้วงเงินหมุนเวียนเผื่ออนาคตอีก 50% ทันทีจากความต้องการเงินทุนหมุนเวียนปกติ และให้วงเงินสำรองสินค้าอีก 30 วัน ลูกค้าจะได้รับการอนุมัติ และรับเงินได้ไวภายใน  15 วันทำการ เพื่อให้ทุกปัญหาที่ลูกค้าธุรกิจเคยประสบมาสามารถแก้ไขได้ด้วย สินเชื่อทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่า พลัส แบบครั้งเดียวจบ และเพื่อตอบสนองลูกค้าเอสเอ็มอีด้านบริการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด                                                                                                       
โดยทีเอ็มบีมีทีมผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Relationship Manager) กว่า 700 คน ที่คอยดูแลลูกค้า และยังมีทีมงานเฉพาะที่ให้คำปรึกษาด้านสภาพคล่องอีกกว่า 60 คนทั่วประเทศ

สำหรับเป้าหมายของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่า พลัส ในปีนี้ คือต้องการขยายฐานลูกค้าใหม่ 2,000 3,000 ราย ในวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยมีแผนการตลาดให้เข้าถึงลูกค้าผ่านสื่อหลัก  อาทิ หนังโฆษณา เรื่อง หายเข้ากลีบเมฆที่จะออกอากาศทางโทรทัศน์พร้อมสื่ออื่นๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ทีเอ็มบีทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือ TMB Contact Center 1558 หรือ tmbbank.com
บทวิเคราะห์  :  จากสภาวะเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวจากปีที่ผ่านมา จนถึงปีนี้ได้มีสภาวะที่ดีขึ้น เนื่องจากราคาของน้ำมันที่ลดลง  การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และการอ่อนค่าของเงินบาท  ส่งผลให้การส่งออกดีขึ้น  แต่ปัญหาหลักของผู้ประกอบการ SME  ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน   ยังคงลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน  หรือได้เงินทุนในช่วงแรกของการเป็นลูกค้า  ได้เงินทุนไม่ทันกำหนดการ  ธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อไม่มีการติดตามลูกค้า  ปัญหาต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจไม่ราบรื่นทันเวลา   TMB เห็นดังนี้แล้ว  จึงมีผลิตภัณฑ์ สินเชื่อทีเอ็มบี  เอสเอ็มอี 3 เท่าขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็ก ที่มียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี ที่ประสบปัญหาดังกล่าว  โดยให้วงเงินสูงสุดถึง 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน ให้วงเงินเผื่ออนาคต 50 เปอร์เซ็นต์  ให้วงเงินสำรองสินค้า 30 วัน  และผู้ประกอบการจะได้รับเงินภายใน 15 วันทำการ  ซึ่งรวดเร็วทันใจ   เหตุผลที่ TMB  จัดทำผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อ  ขยายฐานลูกค้าใหม่ในจำนวน 2,000 – 3,000 บาท ภายในวงเงิน 10,000 ล้านบาท  และเพื่อที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME ที่ยังคงมีศักยภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคต
               วิเคราะห์โดย นางสาวสุธาสินี  โพธิ์มั่น  รหัส 56118040006 สาขาการเงิน  


งบประมาณลงทุนภาครัฐฯ ความหวังเดียวของเศรษฐกิจภูมิภาค
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่า เม็ดเงินจากภาครัฐกระจายสู่ท้องถิ่นอีกกว่า 1.47 แสนล้านบาท ช่วยพยุงเศรษฐกิจในทุกภูมิภาค แนะเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าหมายก่อนเศรษฐกิจขาดแรงส่ง
ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยดูเหมือนค่อยๆ ฟื้นตัวในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ดัชนีชี้วัดหลายด้านปรับตัวดีขึ้น รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี (TMB SME-Sentiment Index) ไตรมาส 1/2558 จากผลสำรวจความคิดเห็นเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 839 รายจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ปรับสูงขึ้นจาก 37.1 เป็น 43.7 หรือเพิ่มขึ้น นับเป็นครังแรกในรอบ 2 ปี เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมองว่ารายได้เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเม็ดเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรและค่าครองชีพ ขณะที่ต้นทุนของธุรกิจปรับตัวลดลงจากราคาน้ำมันภายในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4/2557 
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2  เนื่องจากเม็ดเงินอัดฉีดจากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลสิ้นสุดลง ราคาน้ำมันในประเทศที่เริ่มปรับราคาสูงขึ้นและราคาสินค้าเกษตรที่ยังตกต่ำ เห็นได้จากยอดขายจักรยานยนต์ในเดือนเมษายนลดลงในทุกภูมิภาค รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ชี้วัดกำลังซื้อของประชาชนในแต่ละพื้นที่ก็ลดลงเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในภาวะเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจในประเทศทั้งการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคได้อย่างเต็มที่ การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐจึงเป็นเครื่องยนต์เดียวที่เหลืออยู่และใช้กระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคได้ โดยในปี 2558 เม็ดเงินลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐเข้าสู่เศรษฐกิจภูมิภาคจาก 2 ส่วน คือ โครงการลงทุนภายใต้ปีงบประมาณ 2558 และ งบกระตุ้นเศรษฐกิจ
TMB Analytics คาดว่าหากภาครัฐเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายจากงบประมาณทั้งสองส่วน จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคระหว่างเดือน พ.ค-ก.ย. 2558 รวมประมาณ 1.47 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ปรับปรุงเส้นทาง อาคารสถานที่และการจัดการน้ำประมาณ 1.3 แสนล้าน และโครงการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ประเภทต่างๆ อีก 1.7 หมื่นล้านบาท ภูมิภาคที่ได้รับเม็ดเงินสูงสุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.7 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือภาคเหนือ กลาง กรุงเทพฯ ใต้และตะวันออก ได้รับการจัดสรรเงินลงทุน 2.7, 2.5, 2.4, 2.0 และ 1.2 หมื่นล้านบาทตามลำดับ เมื่อเม็ดเงินที่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่ธุรกิจกลุ่มแรกที่ได้รับผลดี คือธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่เคยรับงานของภาครัฐและได้ขึ้นทะเบียนบริษัทโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน เป็นต้น เพราะสามารถเข้าประมูลโครงการก่อสร้างจากหน่วยงานราชการได้โดยตรง ส่วนธุรกิจกลุ่มที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ แม้ไม่สามารถเข้าประมูลงานได้โดยตรงก็ยังสามารถรับงานสัญญาย่อยจากผู้รับเหมาก่อสร้างกลุ่มแรก กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากโครงการก่อสร้างลำดับต่อมาคือ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ไฟฟ้า การค้าและให้เช่าวัสดุเครื่องมือเครื่องจักร ในพื้นที่โครงการก่อสร้าง นอกจากนั้นยังมีงบประมาณโครงการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 
แม้ว่าเม็ดเงิน 1.47 แสนล้านบาท เป็นงบประมาณที่รัฐจัดสรรเพื่อการลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่ในอดีตการเบิกจ่ายทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายมาโดยตลอด ดังนั้น การเร่งเบิกจ่ายภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อให้เม็ดเงินกระจายสู่เศรษฐกิจภูมิภาคได้ทันในปีนี้ จึงเป็นความหวังเพียงหนึ่งเดียว เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจซึมยาว

บทวิเคราะห์
งบประมาณลงทุนภาครัฐฯ ความหวังเดียวของเศรษฐกิจภูมิภาค
                เศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2  เนื่องจากเม็ดเงินอัดฉีดจากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลสิ้นสุดลงเห็นได้จาก
1.ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
2.ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
3. ยอดขายจักรยานยนต์ลดลง
4. กำลังซื้อของประชาชนในแต่ละพื้นที่ลดลง
ดังนั้น เศรษฐกิจในประเทศทั้งการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน จึงไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคได้อย่างเต็มที่ การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคได้ โดยในปี 2558 เงินลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐเข้าสู่เศรษฐกิจภูมิภาคจาก 2 ส่วน คือ โครงการลงทุนภายใต้ปีงบประมาณ 2558 และ งบกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหากว่าภาครัฐเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายจากงบประมาณทั้งสองส่วน จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคระหว่างเดือน พ.ค.-ก.ย. 2558 รวมประมาณ 1.47 แสนล้านบาทโดยแบ่งเป็นโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆและโครงการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งเมื่อเม็ดเงินกระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นๆ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาดีอีกครั้งส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อีกด้วย ดังนั้น การเร่งเบิกจ่ายภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อให้เม็ดเงินกระจายสู่เศรษฐกิจภูมิภาคได้ทันในปีนี้ จึงเป็นความหวังเพียงหนึ่งเดียว เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจซึมยา
          วิเคราะห์โดย นางสาวกนกวรรณ  ชูจารย์  รหัส 56118040008 สาขาการเงิน


ทีเอ็มบีประเมินกนง.คงดอกเบี้ย เก็บกระสุนไว้กระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง


      ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 10 มิถุนายนนี้ เพื่อรอประเมินประสิทธิผลหลังปรับลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้งล่าสุด แต่ยังไม่ปิดโอกาสที่อาจกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในครึ่งปีหลังหากเงินเฟ้อและการส่งออกยังไม่ดีขึ้น

       การประชุมกนง.ในรอบวันที่ 29 เมษายน คณะกรรมการเซอร์ไพรส์นักวิเคราะห์อีกรอบหลังตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% โดย กนง. ให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้รวมทั้งความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นต่อภาคการส่งออก ส่วนหนึ่งได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

     การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงราว 1 บาท มาอยู่ที่ 33.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยพยุงภาคการส่งออกได้บ้าง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลงไป โดยการท่องเที่ยวที่ยังฟื้นตัวแข็งแกร่งและการเบิกจ่ายงบภาครัฐเร่งตัวดีขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายของเอกชนในประเทศและรายได้จากการส่งออกยังอ่อนแรง ด้านความเชื่อมั่นในภาคเอกชนที่หักหัวลงก็เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง

     ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่า โอกาสที่ กนง. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าจะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังภาพเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะที่กระสุนทางการเงินเริ่มเหลือน้อย การลดดอกเบี้ยครั้งก่อนเป็นการเพิ่มแรงหนุนแก่เศรษฐกิจอย่างทันท่วงทีหลังความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจไทยมีสูงขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ กนง. ได้กระตุ้นเศรษฐกิจรองรับความเสี่ยงเอาไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ดังนั้นท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปทำให้ความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยลงอีกมีไม่มากนัก

นอกจากนี้จากการที่ กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 1.50% ส่งผลให้ขีดความสามารถในการผ่อนคลายนโยบายการเงินมีจำกัด อย่างไรก็ตาม มองว่ายังมีโอกาสที่กนง. จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในครึ่งปีหลัง โดยมีความเสี่ยงหลักๆ ที่ต้องติดตามอยู่ 2 ประเด็นคือ เงินเฟ้ออาจหลุดกรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยประเมินไว้ ในปัจจุบัน ธปท. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะเร่งตัวขึ้นกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงไตรมาสสี่ ส่งผลให้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2558 ของ ธปท. ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.2% แต่ช่วงห้าเดือนแรกของปี ติดลบ 0.8% และยังมีแนวโน้มเป็นลบต่อเนื่อง หากราคาน้ำมันไม่ดีดตัวกลับโอกาสที่ปีนี้เงินเฟ้อจะติดลบมีค่อนข้างสูง

      ความเสี่ยงอีกประการคือ รายได้สกุลดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าอาจติดลบต่อเนื่อง จากราคาสินค้าที่ลดลงภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักยังอ่อนแอ โดยธปท. ประเมินว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัว 0.8% ขณะที่ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่าจะหดตัว 1.7%

      อนึ่ง ธปท. จะเปิดแถลงประมาณการเศรษฐกิจตัวใหม่ ซึ่งอาจปรับตัวเลขประมาณการการขยายของเศรษฐกิจ การส่งออก รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ตัวเลขดังกล่าวจะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นถึงมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจของ ธปท. ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงครึ่งหลังของปีนี้


บทวิเคราะห์ :  ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ส่วนหนึ่งได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น   การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงราว 1 บาท มาอยู่ที่ 33.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐความเสี่ยงอีกประการคือ รายได้สกุลดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าอาจติดลบต่อเนื่อง จากราคาสินค้าที่ลดลงภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักยังอ่อนแอ โดยธปท. ประเมินว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัว 0.8% ขณะที่ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่าจะหดตัว 1.7% อนึ่ง ธปท. จะเปิดแถลงประมาณการเศรษฐกิจตัวใหม่ ซึ่งอาจปรับตัวเลขประมาณการการขยายของเศรษฐกิจ การส่งออก

              วิเคราะห์โดย นางสาวภัณฑิรา   โรจนเศรษฐการ  รหัส 56118040002 สาขาการเงิน



"ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี" คาดกนง.10 มิ.ย.คงดอกเบี้ย จับตาสัญญาณเงินเฟ้อ-ส่งออก

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 10 มิ.ย.นี้ กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.50 เพื่อรอประเมินประสิทธิผลหลังปรับลดดอกเบี้ยลงในการประชุม 2 ครั้งล่าสุด แต่ยังไม่ปิดโอกาสที่อาจมีการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในครึ่งปีหลัง หากสถานการณ์เงินเฟ้อและการส่งออกยังไม่ดีขึ้น

สำหรับการลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุด มีส่วนช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างชัดเจน โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าลงราว 1 บาท มาอยู่ที่ระดับประมาณ 33.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยพยุงภาคการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังได้บ้าง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายนชี้ให้เห็นถึงการท่องเที่ยวที่ยังฟื้นตัวแข็งแกร่งและการเบิกจ่ายงบภาครัฐเร่งตัวได้ดีขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายของเอกชนในประเทศและรายได้จากการส่งออกยังคงอ่อนแรง ด้านความเชื่อมั่นในภาคเอกชนที่หักหัวลงก็เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง

"
ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่าโอกาสที่ กนง.จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมที่จะถึงนี้มีมากกว่าจะมีการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังภาพเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่กระสุนทางการเงินเริ่มเหลือน้อย การที่ กนง. ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งก่อนเป็นการเพิ่มแรงหนุนแก่เศรษฐกิจอย่างทันท่วงที(Preemptive) หลังความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจไทยมีสูงขึ้น หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งก็คือ กนง.ได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจรองรับความเสี่ยงเอาไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ดังนั้น ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยลงอีกมีไม่มากนัก" เอกสารเผยแพร่ ระบุ

นอกจากนี้ จากการที่ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ขีดความสามารถในการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมมีอย่างจำกัด จากสถิติที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเคยแตะระดับต่ำสุดที่ร้อยละ 1.25 ในช่วงปี 2546 (หลังวิกฤตดอทคอม) และปี 2552 (หลังวิกฤตซับไพร์ม) ดังนั้นการปรับลดดอกเบี้ยอีกเพียงครั้งเดียวจะทำให้อัตราดอกเบี้ยลงไปเท่ากับระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา และหากประเมินผ่านเครื่องชี้เศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน เทียบกับสองช่วงเวลาดังกล่าว จะพบว่าสถานการณ์ในปัจจุบันน่าจะมีแนวโน้มไม่สู้ดีนักหากเทียบกับในช่วงปี 2546 แต่ถือว่ามีความแข็งแกร่งกว่ามากหากเทียบกับช่วงปี 2552 ดังจะเห็นได้จากในปี 2546 จีดีพีขยายตัวกว่าร้อยละ 7.2 การส่งออกเติบโตร้อยละ 17.4 ส่วนในช่วงปี 2552 จีดีพีหดตัวร้อยละ 0.7 และส่งออกติดลบร้อยละ 14.3

ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่ายังมีโอกาสที่ กนง.จะออกโรงกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีความเสี่ยงหลักๆ ที่ต้องติดตามอยู่ 2 ประเด็น ความเสี่ยงแรกคือ เงินเฟ้ออาจหลุดกรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อยาวนานกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยประเมินไว้ ในปัจจุบัน ธปท. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะเร่งตัวขึ้นกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงไตรมาสสี่ ส่งผลให้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2558 ของ ธปท. ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 แต่ในขณะนี้อัตราเงินเฟ้อในช่วงห้าเดือนแรกของปี ขยายตัวติดลบร้อยละ 0.8 และยังมีแนวโน้มเป็นลบอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นศูนย์วิเคราะห์ฯ จึงมองว่าหากราคาน้ำมันไม่ดีดตัวกลับในช่วงที่เหลือของปี โอกาสที่เงินเฟ้อจะติดลบในปีนี้มีค่อนข้างสูง
บทวิเคราะห์ :  ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้ เหลือโต 3% ชี้ เศรษฐกิจไทยยังน่าห่วง ส่งออกอ่อนแอ การบริโภค-การลงทุนฟื้นตัวช้า เศรษฐกิจไทยในช่วงปีนี้ น่าเป็นห่วงมาก พร้อมทั้งคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้เหลือเพียงร้อยละ3 จากนั้นมีความเสี่ยงการส่งออก ของไทยไปยังอาเซียนแย่ลงด้วย ราคาสินค้าก็ต่ำลงมีผลกระทบต่อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรต่อเนื่อง ส่วนการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มขยายตัวระดับต่ำและสภาสะภัยแล้งและกนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงอีกทั้งสถาบันปล่อยเงินสินเชื่อมากความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ต่ำอีกปัจจัยทำให้เงินเฟ้อติดลบร้อยละ0.5ในปีนี้ทำให้ความเลื่อมันของธุรกิจเปราะบางเช่นกัน สำหรับเครื่องยนต์ ตั้งอยู่บนความคาดหวังหลายฝ่าย แม่ไม่สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจกลับไปขยายตัวได้แต่สามารถประคับปะคองให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้
       วิเคราะห์โดย  นส.ยลดา   สุภาพ  รหัส 56118040011  สาขาวิชาการเงิน


ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้ เหลือโต 3% ชี้ เศรษฐกิจไทยยังน่าห่วง ส่งออกอ่อนแอ การบริโภค-การลงทุนฟื้นตัวช้า
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2558 ลงเหลือร้อยละ 3.0 จากภาคการส่งออกที่อ่อนแอลงกว่าคาด การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศฟื้นตัวช้า แม้มีสัญญาณบวกจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ ส่วนเงินเฟ้อทั้งปีมีแนวโน้มเสี่ยงหลุดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

จากการแถลงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 เป็นผลจากการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ดี แม้สภาพัฒน์ฯ คาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี แต่ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 3.0-4.0

ทางด้านศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังอยู่ในอาการ น่าเป็นห่วงและยืนมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรูปแบบตัวยู (U-shape) พร้อมทั้งหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้เหลือเพียงร้อยละ 3 (จากเดิมร้อยละ 3.5 คาดการณ์ ณ ธันวาคม 2557) จากความเสี่ยงภาคการส่งออกเป็นสำคัญ เศรษฐกิจคู่ค้าหลักอย่างสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีนยังอ่อนแอ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังอาเซียนแย่ลงด้วย นอกจากนี้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกของไทยโดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตร จึงเป็นความเสี่ยงที่อาจได้เห็นส่งออกไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่สาม หลังจากหดตัวที่ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.4 ในปี 2556-57 ตามลำดับ ซึ่งศูนย์วิเคราะห์ฯ คาดว่ารายได้จากการส่งออกสกุลดอลลาร์ น่าจะหดตัวร้อยละ 1.7 ในปีนี้

ส่วนการบริโภคและการลงทุนเอกชนในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวระดับต่ำ โดยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำและภาวะภัยแล้งที่ส่งผลให้ผลผลิตเกษตรลดลงกดดันกำลังซื้อภาคเกษตร หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง (79% ของจีดีพี ณ สิ้นปี 2557) อีกทั้งสถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยถ่วงต่อการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้เงินเฟ้อน่าจะติดลบที่ร้อยละ 0.5 ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนการลงทุนภาคเอกชนนั้น จากกำลังซื้อทั้งในและนอกประเทศที่ยังคงอ่อนแอ ทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังคงเปราะบางด้วยเช่นกัน กอปรกับกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่ จะเห็นได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนเมษายนหลังปรับฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 58.2 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทำให้ภาคธุรกิจขาดแรงจูงใจเร่งลงทุนเพิ่มเติม

สำหรับเครื่องยนต์เศรษฐกิจอีกสองตัวที่เหลือที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังของหลายฝ่ายนั้น กล่าวคือ การท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐนั้น แม้ไม่สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจกลับไปขยายตัวได้ใกล้เคียงในระดับศักยภาพ แต่สามารถช่วยประคับประคองให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ โดยในส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ ได้มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมไปแล้ว 1.4 พันล้านบาท ณ สิ้นเมษายน


บทวิคราะห์ : ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2558 ลงเหลือร้อยละ 3.0จากภาคการส่งออกที่อ่อนแอลงกว่าคาดแม้มีสัญญาณบวกจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ ส่วนเงินเฟ้อทั้งปีมีแนวโน้มเสี่ยงหลุดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ  ทางด้านศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังอยู่ในอาการ น่าเป็นห่วงพร้อมทั้งหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้เหลือเพียงร้อยละ 3 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.5  ณ ธันวาคม 2557 จากความเสี่ยงภาคการส่งออกเป็นสำคัญโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังอาเซียนแย่ลงด้วย นอกจากนี้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกของไทยโดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตร

วิเคราะห์โดย นายศิริพงศ์  ทับเสือ  รหัส 56118040001 สาขาวิชาการเงิน


ทีเอ็มบี ฉลองความสำเร็จ ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ บัญชีฝากไม่ประจำ ถอนได้ ดอกสูง

ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เผยจำนวนลูกค้าที่เปิด ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ บัญชีฝากไม่ประจำ ถอนได้ ดอกสูง เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และรวดเร็วทะลุกว่า 1.6 ล้านบัญชีในขณะนี้   นับเป็นยอดการเติบโตที่เกินเป้าหมาย พร้อมเดินหน้าชิงฐานลูกค้าเงินฝาก ด้วยการชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างแท้จริง
นางสาวมิ่งขวัญ พัฒนวงศ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารส่งเสริมการตลาดลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบี (TMB) หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  "ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ บัญชีฝากไม่ประจำ ถอนได้ ดอกสูง (TMB No Fixed Account) ได้เปิดให้บริการมากว่า 4 ปีแล้ว (เปิดตัวกลางปี 2554)  นับเป็นธนาคารแรกที่สร้างปรากฎการณ์ของประเภทบัญชีเพื่อออม “ฝากไม่ประจำ” ในตลาด เพราะเป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงเทียบเท่าเงินฝากประจำ แต่ในขณะเดียวกันก็ให้อิสระในการเบิกถอนได้ เหมาะสำหรับลูกค้าทุกคนที่ต้องการออมเงินเพราะไม่มีเงื่อนไขในการเปิดบัญชี เริ่มแค่ 1 บาทก็สามารถฝากได้แล้ว นอกจากนี้ ยังไม่มีกำหนดระยะเวลาการฝาก ถือเป็นบัญชีที่ปลดล็อคข้อจำกัดของบัญชีเงินฝากแบบเดิมๆ ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการฝากเงินที่ได้ผลประโยชน์สูงสุด ได้ทั้งผลตอบแทนที่ดีและความคล่องตัวไปพร้อมๆ กัน จนถึงวันนี้ยังคงได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี  ณ ปัจจุบัน มีจำนวนบัญชี ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ มากกว่า 1.6 ล้านบัญชี จาก 4 แสนบัญชีในปีแรกที่เปิดให้บริการ หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวในทุกๆ ปี” 
นางสาวมิ่งขวัญกล่าวต่อไปว่า ในปี 2558 นี้  ธนาคารคงเดินหน้าเพิ่มฐานลูกค้าบัญชี ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันธนาคารได้ออกแคมเปญเพื่อประชาสัมพันธ์บัญชี ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ ด้วยการชูจุดเด่น “ดอกเบี้ยสูง 2% ได้ง่ายๆ เริ่มแค่ 1 บาท” ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากในตลาดขณะนี้ โดยตั้งเป้าหมายในช่วงแคมเปญตั้งแต่ ก.ค. ก.ย. 58 จะมียอดเปิดบัญชีใหม่รวม 100,000 บัญชี ซึ่งแคมเปญนี้มี อาเล็ก-ธีรเดช เป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ 
เราได้ศึกษาพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เลือกที่จะออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ ทั่วไป แม้ดอกเบี้ยที่ได้รับจะต่ำมากเมื่อเทียบกับเงินฝากประเภทอื่นๆ เนื่องจากต้องการความสะดวก มีความคล่องตัวในการถอน เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน และหากฝากบัญชีเงินฝากประจำ จะมีการกำหนดยอดฝากขั้นต่ำและระยะเวลาในการฝาก  ในแง่นี้ ถือว่าบัญชี ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ ตอบโจทย์ข้อนี้ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยให้ดอกเบี้ยสูงเทียบเท่าเงินฝากประจำ แต่ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ และ ไม่มีกำหนดยอดฝากขั้นต่ำ เริ่มต้นที่ 1 บาท ก็ได้รับดอกเบี้ยที่สูง ดังเห็นได้จากลูกค้าส่วนใหญ่ใช้บัญชี ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ เป็นบัญชีหลักในการออมและมีการฝากเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นความภาคภูมิใจของธนาคารที่ได้พยายามคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้า เพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างแท้จริง บนความเชื่อของเราในการ คิด และทำ ท้าทายด้วยการฉีกกฎทางการเงิน ตอกย้ำแนวคิดการเป็นธนาคารที่มีนวัตกรรมเงินฝากและมีธุรกรรมทางการเงินที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดียิ่งขึ้น”  นางสาวมิ่งขวัญ พัฒนวงศ์ กล่าว 

บทวิเคราะห์ : ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เผยจำนวนลูกค้าที่เปิด ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ บัญชีฝากไม่ประจำ ถอนได้ ดอกสูง เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และรวดเร็วทะลุกว่า 1.6 ล้านบัญชีในขณะนี้ นับเป็นยอดการเติบโตที่เกินเป้าหมาย พร้อมเดินหน้าชิงฐานลูกค้าเงินฝาก ด้วยการชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างแท้จริง

วิเคราะห์โดย นางสาว อุบลวรรณ มิ่งภา  รหัส56118040029 สาขาการเงิน

2 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันอะไรบ้างคะ และมีการคิดอัตราดอกเบี้ยอย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หลักทรัพย์ค้ำประกัน จะเป็นประเภทสถานประกอบการ หรือที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการ
      ส่วนอัตราดอกเบี้ย - วงเงินโอดี MOR + 2.25%
      - วงเงินกู้ MLR + 2.25%
      - ค่าธรรมเนียมค้ำประกันวงเงิน ให้เป็นไปตามประกาศของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. (กรณีใช้ บสย. ค้ำประกัน)
      - ค่าธรรมเนียมอื่นนอกจากที่ระบุไว้ ให้เป็นไปตามประกาศของธนาคาร

      ตอบโดย น.ส.สุธาสินี โพธิ์มั่น รหัส 56118040006

      ลบ