ไฟ ฟ้า โดยทีเอ็มบี และโรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
ประกาศความร่วมมือ มอบทุนจากเกณฑ์อีคิว (EQ) ครั้งแรก!
ในประเทศไทยมุ่งสร้างผู้นำแห่งอนาคตอย่างยั่งยืนผู้นำอย่างยั่งยืน
ควรจะต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดีในเวลาเดียวกัน ล่าสุด
โครงการไฟ ฟ้า (FAI-FAH) โดยทีเอ็มบี หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ได้ร่วมกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศความร่วมมือทางการศึกษาพัฒนาศักยภาพเยาวชนไฟ
ฟ้า (FAI-FAH) กับโครงการมอบทุนการศึกษาหลักสูตรสองภาษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
เพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนไฟ ฟ้า นับเป็นครั้งแรก! ในประเทศไทย
ที่เปลี่ยนแนวทางการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์อีคิว (EQ หรือ Emotional
Quotient) หรือการวัดเกณฑ์ความฉลาดทางอารมณ์ ตระหนักรู้ตนเอง ควบคุมตนเอง
ความเป็นผู้นำ จิตสาธารณะ ฯลฯ เป็นหลักในการมอบทุนตามแนวคิดทีเอ็มบี Make
THE Difference หรือเปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ณ โรงแรมอนันตรา สยาม ถนนราชดำริ
ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร
ทีเอ็มบี กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจอย่างมากจากความพยายามของทีเอ็มบี ที่ได้ก่อตั้ง
"ไฟ ฟ้า" ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
โดยเป็นโครงการซีเอส อาร์ของธนาคาร ที่มอบโอกาสและปลูกฝังเยาวชนอายุ 12-19 ปี
เพื่อสร้างสิ่งดีๆ คืนสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน
ผ่านการเรียนรู้กิจกรรมสร้างสรรค์แขนงต่างๆ
เราสอนเยาวชนให้รู้จักการจับปลาแทนการให้ปลา จนสามารถผลิตเยาวชนที่มีความพร้อมในการเป็นผู้นำ
วันนี้เราช่วยกันส่งเยาวชนให้ถึงฝั่ง ได้ต่อ
ยอดการเรียนรู้จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
และรู้สึกขอบคุณในความร่วมมือจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน
บุคลากรที่ดีนั้น ควรจะต้องเป็นทั้งคนดีที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม คิดถึงส่วนรวม
ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว
ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
และผู้จัดการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า โครงการไฟ ฟ้า
เป็นโมเดลที่ดีที่ช่วยกระจายโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของโรงเรียนในการสร้างผู้นำ
โดยไม่ต้องจำกัดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ดังนั้นการมอบทุนนี้จึงไม่ได้จำกัดเงื่อนไขของทุน แต่พิจารณาที่เกรดเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว
เป็นการพิจารณาจากการประเมินอีคิว การรู้จักตัวเอง ควบคุมตัวเอง
ทัศนคติ ความเป็นผู้นำ จิตสาธารณะ ฯลฯ เป็นต้นทุนที่ดีเพื่อการเรียนรู้
เพราะถ้าเยาวชนมีความสุขในการเรียนจะเป็นแรงกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life
Long Learning ควบคู่ไปกับการพัฒนาตนเอง เพื่อนำองค์ความรู้กลับมาใช้ในการพัฒนาสังคม
ประเทศชาติ ตลอดจนส่งต่อโอกาสทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน"
มาฟังทัศนะเยาวชนไฟ ฟ้า ที่ได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน
ระดับชั้นมัธยมปลายในระบบสองภาษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 4 ทุน
เฟร้น-วรัญญา และฟราย-วริศรา แสงบุตร เยาวชนไฟ ฟ้า ประดิพัทธ์
แฝดพี่น้อง อายุ 15 ปี ได้รับทุนเข้าเรียนในชั้น ม.4
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต เผยว่ามีพี่สาวอีกคน
ยังเรียนหนังสือที่โรงเรียนศรีอยุธยา ทั้งครอบครัวอยู่กัน 4
คนกับคุณแม่ที่เป็นช่างเสริมสวย ดูแลลูกคนเดียว มาเป็นเยาวชนไฟฟ้าได้ 2 ปีแล้ว
โดยเรียนวิชาศิลปะ จุดเริ่มต้นที่เข้าโครงการก็เพราะเพื่อนชวน
ผลที่ได้จากการได้เรียนที่ไฟ ฟ้า ทำให้จากที่ไม่รู้อะไรเลย หรือเป็นศูนย์
จนกลายเป็นมือโปร ได้ประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะกิจกรรมเพื่อชุมชน
ได้พิสูจน์ตัวเอง ได้รู้จักตัวเอง
"ส่วนที่ได้ทุนคิดว่าน่าจะมาจากการเข้าเรียนและทำกิจกรรมสม่ำเสมอที่ไฟ
ฟ้า ดีใจมากที่เราทั้งสองคนได้ทุนนี้ค่ะ ตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนสาธิตฯ
เดือนมิถุนายน ต้องปรับตัวมากกับการเรียนสองภาษา สมัยก่อนชอบวิ่งหนีฝรั่ง
วันนี้ต้องวิ่งเข้าหาอาจารย์ พยายามพูดโดยไม่กลัว
เพราะเราอาจจะช้ากว่าเพื่อนที่เรียนสองภาษาตั้งแต่มัธยมต้น อ่านคำศัพท์ให้รู้จักคำมากขึ้น
หลายๆ ครั้งที่จะพูดแต่คิดคำศัพท์ไม่ออก
กลับหอก็ทำการบ้านและทบทวนเรื่องภาษาทุกวัน" โดยแฝดพี่เผยว่าอยากจะเป็นตำรวจ
"ส่วนน้องฟรายอยากจะเป็นศิลปิน" เฟร้นแฝดพี่เล่า
กอล์ฟ-สุทธิพร อ่อนกลาง เยาวชนไฟ ฟ้า ประดิพัทธ์ อายุ 18 ปี
ได้รับทุนเข้าเรียนในชั้น ม.6 กล่าวว่า จริงๆ แล้วสอบติดมหาวิทยาลัยรัฐบาล
แต่ตัดสินใจเลือกทุนนี้และยอมเรียนซ้ำชั้น ม.6
เนื่องจากที่บ้าน พ่อทำงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเลี้ยงลูกถึง 4 คน
กอล์ฟเป็นลูกคนที่ 2 พี่สาวยังเรียน
มหาวิทยาลัยปี 2 มีน้องอีก 2
คนที่ต้องเรียนหนังสือ ทุนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระของที่บ้านได้อย่างมาก
"ผมได้เข้าร่วมโครงการเยาวชนไฟ ฟ้า ประดิพัทธ์กว่า 4 ปีแล้ว
ที่เข้ามาเพราะอยากจะมีความสามารถพิเศษด้านดนตรี ชอบเล่นกีตาร์
รู้สึกประทับใจกับพี่ๆ และครูอาสาสมัครไฟ ฟ้า ที่สอนอย่างสนุกสนาน
ไม่รู้สึกว่าการเรียนน่าเบื่อ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้อยากจะเป็นครูสอนดนตรี
อยากจะถ่ายทอดวิชาที่เราเรียนมาให้เด็กๆ ส่วนการเรียนแบบสองภาษาที่โรงเรียนสาธิตฯ
เราก็ต้องค่อยๆ ปรับตัว รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ทุกวันก็ได้คำศัพท์ใหม่อย่างน้อย 5-10
คำจากการเรียนดนตรีกับครูชาวอังกฤษ ถ้าฟังไม่ทันก็ไม่อายที่จะถามครูฝรั่ง"
กอล์ฟพูดถึงความประทับใจ
การ์ด-กิตติพจน์ เชื้อดี เยาวชน ไฟ ฟ้า จันทน์ อายุ 15 ปี
เข้าเรียนชั้น ม.4
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า "รู้จักไฟ ฟ้า เพราะกลุ่มเพื่อนชวน
ขณะนั้นกำลังเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
และเป็นคนชอบเก็บตัวอยู่ในบ้าน พอเข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการไฟ ฟ้า
แล้วทำให้กลายเป็นคนที่กล้าแสดงออก กิจกรรมของไฟ ฟ้า
ที่สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผมได้เรียนในสิ่งที่ชอบ ทั้งการเต้นและขับร้อง
เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นนักเรียนของโรงเรียนทวิภาษา
ทำให้ผมต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถเข้ากับสังคมและการเรียนรูปแบบใหม่
แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีเพราะมีเพื่อนร่วมชั้นและคุณครู รวมถึงพี่อาสาสมัครไฟ ฟ้า
ที่คอยช่วยเหลือ ผมวางเป้าหมายในอนาคตว่าอยากเป็นสจ๊วต และมั่นใจว่าการเรียนแบบสองภาษา
ที่ได้ต่อยอดจากโครงการไฟ ฟ้า
จะทำให้เป็นการเข้าใกล้ความฝันอันเป็นจุดหมายของชีวิตเข้าไปอีกก้าว"
ความร่วมมือระหว่างไฟ ฟ้า โครงการซีเอสอาร์ของทีเอ็มบี
และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตครั้งนี้
นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของสถาบันการศึกษาชั้นนำและธุรกิจเอกชน
ที่จะสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยได้รับการศึกษาที่ดี มีมาตรฐานสูง
เพื่อจะได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคมให้เกิดสิ่งที่ดีกว่าในวันนี้
รวมทั้งเป็นการร่วมมือกันเพื่อสร้างผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศที่มีทักษะและความสามารถในหลากหลายสาขาต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น